ประเภทโครงการ : โบราณคดี
ลักษณะ/ประเภทของโครงการ : การประชุม / โบราณคดี
วัน/ระยะเวลา : 30 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
สถานที่ : โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท , ประตูน้ำ , กรุงเทพ , ประเทศไทย
เว็บไซต์ทางการของการประชุม : http://www.seameo-spafa.org/conference2016/
ผู้ประสานงานการจัดประชุม : Dr. Noel Hidalgo Tan ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สาขาโบราณคดี (noel@seameo-spafa.org)
หลักการและเหตุผล
ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่กับการจัดงาน “การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 1 เรื่อง โบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เมื่อปี พ.ศ. 2556 ครั้งนั้นมีผู้ลงทะเบียนจากทั้งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก เข้าร่วมงานประชุมจำนวน 150 คน
ในปี พ.ศ. 2559 ศูนย์ฯ จึงได้จัดให้มีการประชุมครั้งที่ 2 เพื่อเป็นเวทีให้กับนักวิชาการทางโบราณคดีและสาขาที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอผลงานการศึกษา และวิจัยเรื่อง “โบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ประกอบด้วยห้องประชุมรวม และห้องประชุมกลุ่มย่อย และทัศนศึกษาอีก 1 วัน
หัวข้อในห้องประชุมรวม เป็นเรื่องเกี่ยวกับโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภาพรวม ส่วนห้องประชุมกลุ่มย่อย แบ่งตามหัวข้อต่าง ๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา ชีววิทยาทางโบราณคดี โบราณคดีใต้น้ำ ศิลปะถ้ำ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีการมอบทุนสนับสนุนบางส่วนให้แก่นักศึกษาและผู้เข้าร่วมชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
ภูมิหลัง/ที่มาของปัญหา
โบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่สนใจเป็นอย่างมากในเวทีโลก แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการเผยแพร่ข้อมูลและการวิจัยก็ตาม
การประชุมนานาชาติเรื่องโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดโดยสมาคมก่อนประวัติศาสตร์ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก (IPPA) ทุก ๆ 4 ปี (ครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2556 ที่จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา) และในปี พ.ศ. 2557 จัดขึ้นที่กรุงปารีสโดย European Association of South East Asian Archaeologists ดังนั้นศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SPAFA) จึงได้จัดให้มีการประชุมนานาชาติเรื่องโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักโบราณคดีและนักวิจัยชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีเวทีนำเสนอผลงานในงานประชุมที่จัดขึ้นในประเทศแถบภูมิภาคนี้
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่งานศึกษา วิจัยด้านโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานของนักโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มเป้าหมาย
- นักวิชาการประมาณ 200 คน รวมผู้นำเสนอผลงานจำนวน 100 คน
- นักโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการมรดกวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม , สถาปัตยกรรม และวิจิตรศิลป์
ผลงาน
Expected Output
– นักวิชาการได้มีเวทีนำเสนอผลงาน
– วิดีทัศน์การนำเสนอผลงาน
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- นักวิจัยและนักศึกษาทางโบราณคดีและสาขาที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานของตนเอง
- งานวิจัยทางโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการเผยแพร่
- ยกระดับศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ ให้เป็นศูนย์ฯ ที่สนับสนุนงานโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้